วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

Corpus

..
ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก
http://www.webcorp.org.uk/

http://corpus.byu.edu/ กับ http://view.byu.edu/

http://www.natcorp.ox.ac.uk/

English-Thai Parallel Concordance = http://www.arts.chula.ac.th/~ling/ParaConc/

คลังข้อมูลภาษาไทย = http://www.arts.chula.ac.th/~ling/ThaiConc/

คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ = http://www.arts.chula.ac.th/~ling/tnc2/

Thai Learner English Corpus = http://www.arts.chula.ac.th/~ling/TLE/

..

http://nattawaj.blogspot.com/2008/10/blog-post_9531.html

..

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการแปลของ Jean Delisle

ทฤษฎีการแปลของฌอง เดอลีล (Jean Delisle) อาจารย์สาขาการแปล มหาวิทยาลัยออตตาวา แคนาดา


เขาบอกว่าคนที่พูดได้สองภาษาอย่างแท้จริง (ฺฺBilingual) หมายถึงคนที่พูดและเขียนทั้งสองภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว ถ้าพูดได้อย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น bilingual

ทฤษฎีของเขาเน้นที่การฝึกฝนนักแปลรุ่นใหม่ เนื่องจา่กเขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่สอนนักศึกษา

เขากล่าวว่านักแปลหน้าใหม่ หรือนักแปลฝึกหัดเข้าใจตัวบทก็จริง แต่เวลาถ่ายทอดมักผูกติดภาษาต้นฉบับมากเสียจนหาคำที่สละสลวยในภาษาปลายทางไม่ได้ เขาอธิบายว่าการผูกติดอาจเกิดขึ้นจากการเข้าใจไม่หมด หรือความสามารถด้านการเขียนน้อยไปก็ได้

การฝึกฝนการแปลคือการเรียนรู้วิธีคิดเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม แต่มีน้อยคนมากที่จะถ่ายทอดความคิดผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นตัวของตัวเองมากไป

การแปลคือแบบฝึกหัดที่เป็นรูปธรรมของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ กล่าวคือแยกส่วนแล้วประกอบใหม่ จากนั้นทำความเข้าใจอีกทีอย่างเป็นระบบ จะทำให้ความเข้าใจเราเด่นชัด

ตัวบทแนววัจนปฏิบัติศาสตร์และทั่วไป เป็นวิธีการนำเสนอของฌอง เขาบอกว่าขอสงวนทฤษฎีของเขาไว้สำหรับตัวบทสองประเภทนี้เท่านั้น

เขาใช้คำว่าวัจนปฏิบัติศาสตร์เพราะเป็นตัวบทที่ต้องการนำเสนอข้อมูล นำไปใช้เฉพาะด้าน มีวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน ไม่ได้เขียนขึ้นเฉยๆ เขาไม่กล่าวถึงวรรณกรรมเพราะมีเป้าหมายต่างกันแม้จะ functional เหมือนกัน

คำว่าวัจนปฏิบัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับบริบทด้านการสื่อสารหรือวาทกรรม ไม่ใช่แค่ไวยากรณ์ ผู้แปลต้องศึกษา เจตนาตัวบท ลักษณะตัวบท และผู้อ่านสารไปพร้อมๆกัน

ตัวบทประเภทประเภทวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ ข่าว บทความหนังสือพิมพ์ เอกสารธุรกิจ เอกสารโต้ตอบ แผ่นพับท่องเที่ยว รายงานประจำปี

ตัวบทประเภทนี้ไม่ระบุชื่อผู้เขียน เพราะไม่ต้องการเน้นตัวตนผู้เขียน ไม่ต้องการแสดงความรู้สึกผู้ส่งสาร ความซับซ้อนมีน้อยมาก ตรงไปตรงมา มุ่งเน้นตัวสาร เป็นวัตถุวิสัย

ในทางตรงกันข้าม เขาบอกว่าตัวบทประเภทวรรณกรรม คือการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน เป็นอัตตวิสัยมาก มุ่งเน้นผู้เขียน ใช้ภาษาระดับสูง ไม่ใช่วิถีทางเท่านั้น แต่เป็นเป้าหมาย

Analogy คือการเทียบคล้ายของความคิดที่คล้ายคลึง เพราะไม่มีคำตอบแบบตรงๆ เป็นการใช้ความคิดโดยการเทียบคำ หรือ reasoning by analogy

Correspondence คือการเทียบเคียง คือ เอาคำที่มีในพจานุกรมมาใช้ได้เลย